วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2550

โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่วนภูมิภาค

โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่วนภูมิภาค



สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษา แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่วนภูมิภาค 1 จังหวัด 1 อุตสาหกรรม แปรรูปการเกษตร (1 Province 1 Agro - Industrial Product) สำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เลือกกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ในการจัดทำแผนพัฒนาและยกระดับกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางในจังหวัดนครศรีธรรมราช ในระยะ 3 ปี (ปี 2551 - 2553) โดยกำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2550 ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) เพื่อระดมความคิดเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

หลักการและเหตุผลในสภาวการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ อันส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ประกอบการ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [TU-RAC] เห็นว่าการสร้างผู้ประกอบการให้มีพื้นฐานความรู้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ให้ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ สอดคล้องกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช กระทรวงอุตสาหกรรม และจังหวัดนครศรีธรรมราช มีโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่วนภูมิภาค ซึ่งสถาบันฯ เล็งเห็นว่าการพัฒนาผู้ประกอบการ ให้แข็งแกร่งต้องให้ความรู้ ความเข้าใจ มีประสบการณ์และทัศนคติที่ดี โดยให้การปรึกษาแนะนำ จากคณาจารย์และทีมที่ปรึกษา ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา สถาบันอิสระ และภาคเอกชนมาร่วมวางแผนแบบบูรณาการในระยะ 3 ปีข้างหน้า ( ปี 2551 – 2553 ) เพื่อนำร่องการพัฒนา และยกระดับสถานประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรขนาดกลาง และขนาดย่อมของจังหวัด ให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง เป็นแหล่งจ้างงาน และสร้างรายได้ให้กับประเทศ ปัจจัยที่สำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยการพัฒนาผู้ประกอบการ และโครงสร้างภาคการผลิตของประเทศ ที่ครอบคลุมในทุกมิติด้วยการให้ความรู้ และคำปรึกษาแนะนำเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ 1) การบริหารจัดการวัตถุดิบ และโลจิสติกส์ 2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 3) การลดต้นทุนการใช้ทรัพยากรและพลังงาน 4) การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือระบบมาตรฐานสากล 5) การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า ให้กับ 2 สถานประกอบการนำร่องในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยให้การปรับปรุงตรงกับสภาพปัญหาของแต่ละสถานประกอบการ ครอบคลุมอย่างน้อย 3 แผนงาน จากกรอบการพัฒนา 5 แผนงาน ดังกล่าวนี้วัตถุประสงค์โครงการ2.1 เพื่อผลักดันให้เกิดการยกระดับคุณภาพ และมูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เน้นใช้ศักยภาพของวัตถุดิบในจังหวัด มาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้2.2 เพื่อให้มีแผนงาน / โครงการของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช สำหรับการพัฒนา และยกระดับกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรของจังหวัดในระยะ 3 ปีข้างหน้า (ปี 2551-2553)2.3 เพื่อนำร่องการพัฒนา และยกระดับสถานประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรขนาดกลาง และขนาดย่อมของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในด้านการบริหารจัดการวัตถุดิบ และโลจิสติกส์ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การลดต้นทุนการใช้ทรัพยากรและพลังงาน การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือระบบมาตรฐานสากล และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ3.1 สถานประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรขนาดกลาง และขนาดย่อม จังหวัดละ 2 โรงงาน ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการคัดเลือกของจังหวัดนครศรีธรรมราช3.2 ผู้ที่มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) จากทุกภาคส่วนเข้าร่วมจัดทำแผนงาน / โครงการ ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช สำหรับการพัฒนา และยกระดับกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร ของจังหวัดในระยะ 3 ปี (ปี 2551-2553) จังหวัดละ 1 แผน
ขอบเขตของงานสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษา แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสนอแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการ ให้กับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อจัดทำแผนงาน / โครงการของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำหรับการพัฒนา และยกระดับกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรของจังหวัด และปรับปรุงสถานประกอบการ ด้านแปรรูปสินค้าเกษตรของจังหวัด จำนวน 2 โรงงาน เสริมความสามารถในการแข่งขันของสถานประกอบการ โดยการพัฒนาอย่างมีขั้นตอน [P.D.C.A] ดังนี้
การจัดทำแผนงาน/โครงการของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราชสำหรับการพัฒนา และยกระดับกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรของจังหวัดในระยะ 3 ปี (ปี 2551-2553) มีขั้นตอนของกิจกรรมโดยวิธีการระดมความคิด [Brain storming] เพื่อรวบรวมประเด็นด้วยวิธี SWOT Analysis นำมาวิเคราะห์ SWOT Matrix นำผลมาประเมินความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย [Stakeholder] โดยวิธีจับคู่ที่ดีที่สุด เพื่อนำไปกำหนดประเด็นกลยุทธ์ สร้างแผนที่กลยุทธ์ [Strategy Map] เรียบเรียงวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด ข้อมูลปัจจุบัน เป้าหมาย นามาจัดทำแผนงาน/โครงการของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด โดยการทำงานร่วมระหว่างทีมงานโครงการของสถาบันฯ และทีมงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด แบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง [OJT] ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆ ดังนี้4.1.1 การวางแผน [ Plan ] การศึกษารวบรวมข้อมูลเดิม เช่นยุทธศาสตร์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด หรือแผนการพัฒนาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร โดยการขยายผลการดำเนินงาน จะยึดแนวทางเอกสารการศึกษา และกำหนดสินค้าเป้าหมายของ จังหวัดนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับสถานภาพ และศักยภาพของอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรในจังหวัด และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ที่มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) จากทุกภาคส่วน เพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของภาคอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรในจังหวัด สำหรับการเสนอทิศทาง และกลยุทธ์การพัฒนาเป้าหมาย ตลอดจนการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจ (คลัสเตอร์) ด้านอุตสาหกรรม แปรรูปเกษตรของจังหวัด ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีรายละเอียดดังนี้4.1.1.1 การประชาสัมพันธ์ สถาบันฯจัดให้มีการประชาสัมพันธ์โครงการฯผ่านสื่อต่างๆ ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายข้อ 3 ดังนี้ จัดทำแผ่นพับโบร์ชัว ขนาด A4 และ จัดทำป้ายผ้า ติดตั้งบริเวณที่กลุ่มเป้าหมายผ่าน
4.1.1.2 การคัดเลือกผู้ที่มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) เพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน
· สถาบันฯ ทำการศึกษาข้อมูลภาคราชการ ที่เกี่ยวข้องจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อทำหนังสือเชิญเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการระดมความคิดเกี่ยวกับจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของภาคอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรในจังหวัด
· สถาบันฯทำการศึกษาข้อมูลภาคเอกชน จากฐานข้อมูลโรงงานด้านการเกษตร (GPP) ที่เกี่ยวข้องจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อทำหนังสือเชิญเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการระดมความคิดเกี่ยวกับจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของภาคอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรในจังหวัด
· สถาบันฯทำการศึกษาข้อมูลสถาบันการศึกษา ที่เกี่ยวข้องจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อทำหนังสือเชิญเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการระดมความคิดเกี่ยวกับจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของภาคอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรในจังหวัด
· สถาบันฯทำการศึกษาข้อมูลหน่วยงานอิสระ ที่เกี่ยวข้องจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อทำหนังสือเชิญเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการระดมความคิดเกี่ยวกับจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของภาคอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรในจังหวัด
4.1.1.3 การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สถาบันฯ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยใช้สถานที่สามารถรองรับผู้ที่มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) จากทุกภาคส่วน ภายในจังหวัดนครศรีธรรมราช
4.1.1.4 การรวบรวมข้อมูล สถาบันฯ จัดอุปกรณ์ต่างๆ แบบเก็บข้อมูล และทีมงานเพื่อรวบรวม นำผลไปวิเคราะห์ เพื่อนำเสนอร่างแผนกลยุทธ์ สำหรับการพัฒนา และยกระดับกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรของจังหวัดในระยะ 3 ปี (ปี 2551-2553)ประโยชน์ที่จะได้รับในการเข้าร่วมโครงการฯ
1. ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร
2. ได้ร่วมวางแผนงาน/โครงการสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช สำหรับการพัฒนา และยกระดับกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรของจังหวัดในระยะ 3 ปีข้างหน้า (ปี 2551-2553)
3. สามารถเข้าใจเรื่องหน้าที่ และสิทธิประโยชน์ต่างๆจากภาครัฐที่ให้ความช่วยเหลือ ในการประกอบธุรกิจด้านแปรรูปสินค้าเกษตร
4. มีทีมที่ปรึกษาช่วยในการให้คำปรึกษาแนะนำ การพัฒนาธุรกิจ ด้านแปรรูปสินค้าเกษตร จากสถานประกอบการนำร่อง
5. เพิ่มความชำนาญ และประสบการณ์ สำหรับการทำธุรกิจด้านแปรรูปสินค้าเกษตร ให้ยั่งยืนตลอดไป

ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึง เดือน กันยายน 2550

My new blog

สุดยอดการเริ่มต้น Blog